หอประวัติคณะแพทยศาสตร์
หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ แบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
โถงทางเข้า
ได้แนวคิดจากการจำลองทางเข้าของตึกพยาธิ ซึ่งนับเป็นอาคารหลังแรกของคณะแพทย์ที่สร้างเสร็จในปี 2493 หลังจากที่คณะก่อตั้งได้ 3 ปี ลวดลายบนกระจกประตู เป็นการดัดแปลงจากลายของอาคารเก่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ในคณะ
1.โซนพระมหากรุณาธิคุณ
นำเสนอภาพเขียนองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้การอุปถัมถ์คณะแพทยศาสตร์จากวันก่อตั้งจนถึงทุกวันนี้ รวมทั้งจัดแสดงแซกโซโฟนที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อวงดนตรีคณะแพทย์ นับเป็นสมบัติสิ้นสำคัญที่หาประมาณค่ามิได้
2.โซนลำดับเหตุการณ์สำคัญ
นำเสนอลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ช่วงก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ด้วยระบบหน้าจอสัมผัส เพื่อเรียกดูข้อมูลเจาะจงแต่ละช่วงเวลาได้
3.โซนบรรยากาศจากอดีตสู่อนาคต
นำเสนอภาพบรรยากาศที่สวยงามและได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานการออกแบบชั้นเลิศในสมัยนั้น ซึ่งปัจจุบันยังคงเหลืออาคารที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงการนำเสนอวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคณะแพทย์และโรงพยาบาลจุฬายุคใหม่ ที่มีความสมัย สวยงามและมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
4.โซนชีวิตในคณะแพทย์
นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาวคณะ หรือที่เรียกกันว่าเผ่า ตามประเพณีงานอินเดียนที่สืบทอดมาช้านาน ซึ่งระหว่างเรียนรู้วิชา นิสิตจะได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ในด้านต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม กิจกรรมสันทนาการและบันเทิง ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนาบุคคลิกภาพและจิตใจที่ดี อันเป็นคุณลักษณะอันสำคัญของอาชีพแพทย์
5.โซนศาสตร์วิชาแห่งการแพทย์
พื้นที่ส่วนวิชาการทั้งการเรียนภาคทฤษฎี เลคเชอร์เก่า ๆ ของอาจารย์ รวมทั้งการเรียนกายวิภาคซึ่งเป็นวิชาสำคัญที่นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านประสบการณ์นี้ เป็นการจำลองให้นิสิตรุ่นหลังหรือผู้เข้าชมได้เห็นบรรยากาศการเรียนการสอนในอดีต
6.โซนผลผลิตแห่งความภาคภูมิใจ
เป็นพื้นที่แห่งการสร้างแรงบันดาลใจ ให้นิสิตรุ่นหลังและผู้เข้าชมได้เห็นตัวอย่างผลงานในด้านต่าง ๆ จากศิษย์เก่าของคณะ ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาชีพการแพทย์ ด้านการวิจัย วิขาการ จนไปถึงด้านสังคมและบันเทิง พื้นที่โล่งในส่วนนี้จึงเป็นพื้นที่ที่ออกแบบให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนกันของผู้มาเยือนหลังจากรับทราบความเป็นมาต่าง ๆ ของคณะ เพื่อให้มีโอกาสหยุดพัก สร้างแรงบันดาลใจ ก่อนที่จะออกนิทรรศการนี้ไป
STEP Museum Street Society
"STEP Museum Street Society" Place : โรบินสันรัชดาเก่า ตรงข้ามตึก Cyber ถนน รัชดาภิเษก. Mrt ศูนย์วัฒนธรรมฯ ทางออก 4. Date : 15 ตุลา - 15 พฤศจิกายน 2558
แผนที่ Art in paradise พัทยา
เลขที่ 78/34 หมู่ 9 ถ.พัทยา สาย 2 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร.038 – 424500
การเดินทางไป Art in paradise พัทยา
จากถนสุขุมวิทเลี้ยวขวาตรงไฟแดงพัทยาเหนือ ขับตรงไปผ่านโลตัส ผ่านศาลาว่ากลางเมืองพัทยา เลยไปนิดนึง จะมีซอยซ้ายมือ เขียนว่าทางไปบิ๊กซีพัทยาหนือ ขับตรงไป 300 เมตร ขวามือ จะมีป้ายเขียนเป็นโชว์บิ๊กอาย จากนั้นก็จะถึง Art in paradise อยู่ติดกัน
แผนที่ Art in paradise พัทยา
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
นิทรรศการถนนราชดำเนินนอก
เวลา 09.00 - 21.00 น.
2. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
3. กรมปศุสัตว์
รายละเอียด
- ไข่ไก่
- เนื้อสุกรปลอดสารพิษ
- ผลิตภัณฑ์กรมปศุสัตว์ ได้แก่ ไส้กรอก ลูกชิ้น แฮม ฯลฯ
- ผลิตภัณฑ์จากแพะ ประเภทเครื่องสำอาง ได้แก่ สบู่ โลชั่น ครีมอาบน้ำ ฯลฯ
- เบเกอร์รี่จากแพะ ประเภทเบเกอรี่ ขนมปัง ครัวซอง คุกกี้ โยเกิร์ต ฯลฯ
4. กรมการข้าว
แนวคิด "ข้าวของพ่อ" รายละเอียด
4.1 นิทรรศการข้าวของพ่อ "พันธุ์ข้าวพระราชทาน”
4.2 โครงการกองทุนพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต.ท่าวัง จ.น่าน
4.3 นิทรรศการการจัดการน้ำในนาข้าวอย่างประหยัดรู้คุณค่าของน้ำ
4.4 นิทรรศการข้าวคุณภาพพิเศษเพื่อตลาดเฉพาะ
- น้ำมันข้าว
- เครื่องสำอางจากข้าว
- ข้าว Gi ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว
5. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร
6. กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตรและ มกอช.
1. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2. กรมชลประทาน
3. กรมประมงและองค์การสะพานปลา
4. กรมประมงและองค์การสะพานปลา
5. กรมหม่อนไหม
6. กรมส่งเสริมสหกรณ์ และ อสค.
7. กรมส่งเสริมสหกรณ์ และ อสค.
8. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
9. องค์การสวนยาง และ สกย.
10. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
พิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งขึ้นด้วยปณิธานของมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผสานกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนร่วมบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการวิจัยเพื่อชุมชน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีทั้งกิจกรรม โครงการต่างๆ รวมทั้งการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาหลักนิทรรศการ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย - จีน ในด้านต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยนิทรรศการเรื่องพระบรมโพธิสมภาร นิทรรศการ 90 ปี มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง (เนื้อหามาจากผลงานการวิจัย) โรงพยาบาลหัวเฉียว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นอกจากนั้นทางพิพิธภัณฑ์ฯมีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการ
โถงทางเข้าพอพิพิธภัณฑ์ ติดตั้งป้ายจารึกอักษรภาษาจีน ขยายจากฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ่านว่า "ฉงเซิ่นเป่าเต๋อ" หมายถึงเฉลิมพระเกียรติสนองพระคุณ ด้านล่างเป็นพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อ่านว่า "ซือหลินทง" หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องหยกและบทกวี จากนั้นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางไทย - จีน ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้าทางเรือสำเภา การอพยพของชาวจีนสู่ประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การจำลองร้านขายยาแผนโบราณ การแพทย์ การรักษาสุขภาพ แผนที่และภาพแสดงชุมชนการค้าเก่าของชาวจีนย่านสำเพ็ง ภูมิปัญญาของชาวจีนด้นการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ศิลปกรรม วรรณกรรมที่แปลจากภาษาจีน เครื่องดนตรี ความเชื่อ ศาสนา จนถึงภาพการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีส่วนของ "พิพิธภัณฑ์สมุทรปราการ" จัดแสดงของที่ได้รับจากชุมชน เช่น สามล้อ เรือ หมวก เครื่องสีฝัดข้าว อุปกรณ์ทำนา ฟืมสำหรับทอเสื่อจากอาคารชั้นนี้มีส่วนเชื่อมต่อกับสวนจีนภายนอก ชั้นที่ 2 เรียกว่า Hall of Fame แสดงเรื่องพระบรมโพธิสมภาร ประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงพระราชประวัติ และป้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดมหาวิทยาลัย พระปรมาภิไธย และอุปกรณ์ที่ทรงปลูกต้นโพธิ์ และรูปปั้นผู้ก่อตั้ง
ข้อมูลเว็บไซต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น